ผิดได้แบบไร้เหตุผล ควรได้รับการแก้ไข
โดยครูเก๋ อ.ดร.นฤมล พงษ์ประเสริฐ นักจิตสิทยาการให้คำปรึกษาและแนะแนว
ตามหลักจิตวิทยา ความรู้สึกผิด เกิดจากภาวะที่บุคคลทำพลาดแล้วรู้ตัว ส่งผลให้จิตใจว่าเป็นสิ่งที่ "ไม่พึงกระทำ" หากลักษณะดังกล่าวเกิดขึ้นในสถานการณ์ที่ได้กระทำผิดจริง จะเป็นจะประโยชน์อย่างมากในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่จะนำไปสู่การแก้ไขที่ดีในทางบวก หรือที่เราเรียกสั้นๆว่า "สำนึกผิด"
อีกสถานการณ์ที่สะท้อนความจริงที่น่าเป็นห่วงคือ คนดีที่รู้สึกผิดจนไม่กล้าจะลงมือทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอันเพียงเพราะเกรงใจผู้อื่นมากจนเกินไป หรือกลัวเพียงเพราะจะเกิดความผิดพลาด มากครั้งที่เยาวชน หรือลูกที่กำลังอยู่ในวัยเรียนรู้ หรือทดลองกิจกรรมใหม่ๆ ความผิดพลาดย่อมเกิดขึ้นได้เป็นเรื่องปกติธรรมดา เรื่องๆความผิดพลาดดังกล่าวในช่วงแรกจะเป็นเรื่องธรรมดาจนเกิดคำว่า "ตัดสิน"
ซิกมันต์ ฟรอยด์ จิตแพทย์ชาวออสเตรีย กล่าวว่า
การรู้สึกผิดโดยไม่มีเหตุผลมากครั้ง สามารถสร้างความไม่มีเหตุมีผลในตัวตนให้เกิดขึ้นได้
การกระทำบางอย่างต้องการการทดลองเพื่อรู้เหตุผลและที่มาที่ไปของความผิดพลาด ซึ่งต้องการการกระทำเพื่อชี้แจงถึงความถูกหรือไม่ชอบใจ เพียงอนุญาตให้ลูกและเยาวชนได้ทดลองในสิ่งที่ต้องการ ความมีเหตุผลของความรู้สึกผิด จะมาจากเหตุผลที่ได้จากการกระทำที่ถูกต้อง
ครูเก๋ แอบโซลูท
โรงเรียนกวดวิชาแอบโซลูท ธิงคิง
ปลูกปั้นทางปัญญา ล้ำหน้าทางความคิด พัฒนาชีวิตด้วยสถาบันครอบครัว
เรียนรู้ทุกวิชาด้วยจุดแข็ง
098-6656-541 ปรึกษาเราเลยวันนี้
Line @absolutethinking
