top of page

ยิ้มรับ ปรับซึมเศร้า

อัปเดตเมื่อ 21 มิ.ย. 2562

โดยครูเก๋ อ.ดร.นฤมล พงษ์ประเสริฐ นักจิตวิทยาการให้คำปรึกษาและแนะแนว


เมื่อรู้สึกว่าลูก ซึมเศร้า หรือเข้าข่ายเป็น ซึมเศร้า ทำอย่างไรดีคะ


โรคภาวะซึมเศร้ามีการแสดงอาการบ่งชี้สลับแตกต่างกันไป โดยสามารถทดสอบตนเองหรือลูก รวมทั้งคนใกล้ชิดได้ด้วยแบบวัดของกรมสุขภาพจิตในเบื้องต้น หากพบว่าลูกหรือคนใกล้ตัวมีภาวะอาการซึมเศร้า สิ่งที่คนใกล้ชิดควรทำคือ


1. พาลูก หรือคนที่อยู่ในกลุ่มสภาวะซึมเศร้า ออกจากสภาพแวดล้อมเดิมๆที่เขาอาศัยอยู่ ออกจากห้องพัก หอพัก ทำกิจกรรมกลางแจ้งหรือท่องเที่ยวในสถานที่ใหม่ๆ


2. หากิจกรรมที่ทำร่วมกันคนเป็นกลุ่ม อาทิการเดินเล่นสวนสาธารณะ กินข้าวกับเพื่อน ดูหนัง ฟังเพลง หรือทำกิจกรรมที่ตนเอง หรือลูกชอบ


3. หาที่ปรึกษาหรือบุคคลที่เราคิดว่า พอจะพูดคุยและรับฟังเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ข้อสงสัยบางอย่างที่ติดค้างในใจ ของบุคคลคนนั้น การเล่าเรื่องราวให้พ่อแม่ หรือรับฟังเรื่องราวของลูก ตั้งแต่ระดับนักเรียน นักศึกษาหรือบุคคลทำงานทั่วไปนั้นสามารถทำให้เกิดการสื่อสารที่เป็นประโยชน์ ถือเป็นช่องทางที่ได้ปล่อยความรู้สึกที่รู้สึกไม่สบายใจออกมา


แต่สุดท้ายที่ครูเก๋ อยากจะฝากก็คือ ปัญหาทุกอย่างที่เข้ามาในชีวิต ไม่ว่าจะเป็นของเรา ของลูก ของพ่อแม่หรือคนรู้จัก ทุกคนล้วนเจออุปสรรคในทุกช่วงชีวิต เมื่อครั้งผ่านได้ก็พบความสุขจนลืมอุปสรรคที่ผ่านมา เมื่อครั้งพบอุปสรรคเราก็ลืมความสุขของบางช่วงในชีวิต เมื่อเราเจอปัญหาและความสุขอยู่เป็นประจำแล้ว ในฐานะนักจิตวิทยาที่ให้คำปรึกษามาตลอดระยะเวลา 19 ปี ขอเสนอว่า มองอุปสรรคและรับมือกับมันด้วยสิ่งที่ดีที่สุดในตัวเรา ดั่งทะเลที่มีคลื่น มนุษย์บางคนอาจจะมองเห็นอันตราย แต่อันตรายเหล่านี้สามารถเปลี่ยนเป็นความสุขในเวลาต่อมาด้วยการโต้คลื่น หรือการฝึกที่จะอยู่กับอุปสรรคในทุกช่วงเวลาของชีวิต


ครูเก๋ แอบโซลูท

โรงเรียนกวดวิชาแอบโซลูท ธิงคิง


ปลูกปั้นทางปัญญา ล้ำหน้าทางความคิด พัฒนาชีวิตด้วยสถาบันครอบครัว


www.absolutethinking.org

Line @absolutethiking



ดู 107 ครั้ง0 ความคิดเห็น
bottom of page