top of page

ทดแทนดรามาด้วยราคาของความจริงใจ

โดยครูเก๋ อ.ดร.นฤมล พงษ์ประเสริฐ นักจิตวิทยาการให้คำปรึกษาและแนะแนว


ดรามา คำสั้นๆที่ใช้เรียกเรื่องราวก็เกิดขึ้นเกินจริงในรูปแบบต่างๆของวัยรุ่น ดังที่เรานั้นได้ยินว่า อย่าดรามา คำว่า อย่ามาดรามาเป็นคำแสดงเหตุการณ์ที่อาจจะหมายถึง คำโกหก เรื่องที่กล่าวเกินจริง หรือพฤติกรรมที่แสดงออกมาในรูปแบบเกินจริง


แล้วลูกเราทุกวันนี้ แสดงพฤติกรรมที่เขานั้นรู้สึกจริงๆหรือแค่เพียงดรามา สังเกตุอย่างไร


1. หากตรวจสอบว่า เรื่องราวเกิดขึ้นจริง มีเหตุมีผลมีขอบเขตของความเป็นไปได้ แบบนี้ไม่ใช่ดรามา อาทิ เด็กยืนรับประทานไอศกรีมพร้อมไปหน้าทีสดใสยิ้มแย้มมีความสุข ต่อมาไม่นานเพื่อนเดินมาชนเข้า ทำให้ไอศกรีมในมือของเด็กนั้นตกพื้น เด็กร้องไห้เสียงดังเพื่อแสดงออกถึงความเสียอกเสียใจ ไม่ใช่ดรามาและไม่ควรดุด่าว่ากล่าว


2. หากตรวจสอบแล้ว อาจมีเรื่องจริงแต่เหตุและผลไม่สอดคล้อง ด้วยเวลาและสถานที่ กรณีนี้อาจเข้าข่ายการดรามา อาทิ การที่เด็กทำไอศกรีมตกเอง อาจเป็นเพราะอยากได้เพิ่ม เมื่อตกจึงร้องไห้เสียงดัง เพื่อร้องขอให้คุณแม่ซื้อไอศกรีมแท่งใหม่ แบบนี้เข้าข่ายดรามาแล้วค่ะ


แต่หากพิจารณาด้วยเหตุผล คุณแม่รีบอธิบายว่าการซื้อแท่งใหม่ให้นั้น ไม่ใช่เพราะลูกร้องไห้เพราะไอศกรีมตก และถึงแม้ไอศกรีมไม่ตกลูกไม่อิ่ม ลูกก็ขอเพิ่มได้นะคะ หยุดการดรามาของลูก ด้วยความต้องการที่แท้จริง


ครูเก๋ แอบโซลูท

โรงเรียนกวดวิชาแอบโซลูท ธิงคิง


ปลูกปั้นทางปัญญา ล้ำหน้าทางความคิด พัฒนาชีวิตด้วยสถาบันครอบครัว


เรียนรู้ทุกวิชาด้วยจุดแข็ง

098-6656-541 ปรึกษาเราเลยวันนี้


www.absolutethinking.org

Line @absolutethinking






ดู 74 ครั้ง0 ความคิดเห็น
bottom of page