Active Conversation กุญแจสำคัญในการปลดล็อคปัญหาของลูก
อัปเดตเมื่อ 24 ส.ค. 2562
โดยครูเก๋ อ.ดร.นฤมล พงษ์ประเสริฐ นักจิตวิทยาการให้คำปรึกษาและแนะแนว
จินตนาการเห็นคุณและลูกนั่งคุยกันอย่างสนุกสนานในห้องนั่งเล่น จินตนาการถึงห้องนั่งเล่นเดียวกันแต่เป็นคุณที่ไม่รู้จะคุยอะไรกับลูก คุณรู้สึกอย่างไร คุณเป็นแบบไหน แล้วแบบไหนที่คุณอย่างได้รับ
ธรรมชาติของเด็กไม่ว่าจะวัยไหน คือต้องการคู่สนทนา หลายครั้งที่ผู้ปกครองบอกกับครูเก๋ว่า พูดกันทุกวันสนิทกันมากจนไม่รู้ว่าจะพูดอะไร แต่ทำไมเราสอนเค้าไม่ได้ หรือปัญหาไม่ได้ถูกแก้ แต่ทุกครั้งที่พูดกลับเป็นการสร้างปัญหาใหม่เข้ามาในชีวิตเรื่อยๆ
จริงๆแล้วหัวใจของคู่สนทนาที่ดี รวมถึงผู้ชี้แนะในการสนทนาที่จะมีอิทธิพลสูงต่อการเปลี่ยนแปลงชีวิตและความคิด คือการสนทนาแบบ Active Conversation หรือเรียกให้ง่ายกว่านั้นคือ #ใช้ใจสนทนา
1. ทุกครั้งที่สนทนากับลูก สังเกตลูกเสมอ สีหน้า ท่าทาง การแต่งกาย อากัปกิริยา อาทิ สั่นขาเวลาคุยหรือไม่ การสั่นขา กัดเล็บ หรือเกาหัว สามารถบ่งบอกได้ถึงสัญญาณของความวิตกกังวลใจ
2. ฟังน้ำเสียงของลูก และติดตามเรื่องราวในบทสนทนา ลูกพูดเสียงสองหรือเปล่า พูดเต็มเสียงหรือคลุกเคล้าในลำคอ เล่าเรื่องราวด้วยน้ำเสียงที่แผ่วเบาหรือหนักแน่น หลายครั้งการดูที่น้ำเสียงสามารถบ่งบอกได้ถึงความไม่มั่นใจในตัวของลูก
3. ใช้ความสัมผัสทางกาย อาทิ การนั่งใกล้ๆ การนั่งข้างๆ การจับมือ โอบกอด เพื่อรับรู้ถึงอุณหภูมิ มือร้อนมีเหงื่อ หรือมือเย็นซีด การใช้สัมผัสทางกายเพียงการนั่งข้างๆบางครั้งสามารถบ่งบอกถึงสิ่งที่อัดอั้นตันใจของลูกได้หากมีการปิดบังข้อมูลที่ไม่สบายใจบางอย่าง
หากผู้ปกครองใส่ใจในการเป็นคู่สนทนาที่ดีของลูก การที่จะรับรู้ปัญหาหรือเรื่องราวต่างๆอาทิ สถานการณ์ในโรงเรียน ที่เรียนพิเศษ หรืองานแสดงของลูกต่างๆผ่านการฟังและสอบถามอย่างตั้งใจจะเป็นเรื่องง่ายที่จะรับทราบถึงปัญหา ว่าเกิดจากอะไร หรือสามารถป้องกันได้อย่างไรในอนาคต แถมยังเป็นคู่สนทนาที่ดีและน่าไว้วางใจอีกด้วย
ครูเก๋ แอบโซลูท
โรงเรียนกวดวิชาแอบโซลูท ธิงคิง
ปลูกปั้นทางปัญญา ล้ำหน้าทางความคิด พัฒนาชีวิตด้วยสถาบันครอบครัว
ปรึกษาเราเลยวันนี้
098-6656-541 เรียนรู้ทุกวิชาด้วยจุดแข็ง
