top of page

วุฒิภาวะ และตรรกะ เร่งไม่ได้

โดยครูเก๋ อ.ดร.นฤมล พงษ์ประเสริฐ นักจิตวิทยาการให้คำปรึกษาและแนะแนว


จำเป็นไหม ที่เราจะต้องใส่ใจในการเลี้ยงดูลูกตั้งแต่ยังเล็ก โตขึ้นเขาจะรู้และเข้าใจเองได้จริงหรือ ?


คำถามที่เป็นข้อสงสัยของใครหลายๆคน ที่ว่าการเลี้ยงดูลูกตอนอายุยังน้อย ไม่ได้ส่งผลอะไรมากมาย แค่เลี้ยงๆไป ไม่ให้เจ็บป่วยก็พอโตมาแล้วจะคิดได้เอง


มนุษย์เกิดมาพร้อมกับสมองอันชาญฉลาดและการเอาตัวรอดก็จริงอยู่ แต่ไม่ได้หมายความว่า มนุษย์นั้นจะคิดได้เองโดยไม่มีการบ่มเพาะสั่งสอน โดยเฉพาะก่อนอายุ สองปี ในแต่ละช่วงวัย มนุษย์ต้องเรียนรู้จดจำ สิ่งที่จำเป็นต่อการเอาตัวรอด ดำรงชีวิต และสร้างการพัฒนาในตัวตน กระทั่งการลบความทรงจำที่ไม่จำเป็นออกจากช่วงวัยต่างๆ รวมเป็นการเรียนรู้ที่รวดเร็วมากขึ้นเพื่อการเรียนรู้ในเรื่องเดิมๆที่มีความซับซ้อนมากขึ้น


เมื่อเด็กเป็นทารก คุณแม่จะสังเกตุว่า สายตาจะไม่ค่อยจับจ้องเป็นจุดๆ หรือที่ใดที่หนึ่ง แต่หมุนรอบเพื่อสร้างความคุ้นเคยต่อเสียงที่ได้ยินในครรภ์ หลังจากนั้นภายใน 4 เดือนสายตาลูกเริ่มจะหยุดนิ่งอยู่ที่เสียงที่ลูกได้ยินและแยกแยะว่าอะไรเป็นอะไร แต่ไม่ละเอียด จนถึง เดือนที่ 5 แต่ไม่เกิน 8 ลูกจะเริ่มแยกสี โทรเสียง รวมถึงขนาดได้เบื้องต้น และความซับซ้อนเหล่านี้จะพัฒนาไปเรื่อยๆในแต่ละระดับ หากช่วงเวลาดังกล่าวถูกละเลย พัฒนาการของลูกคงไม่เติบโตเท่าที่ควร


ฉะนั้นการเลี้ยงดูเด็ก ไม่ว่าจะเป็น ทารก เด็กอ่อน เยาวชน มีลำดับในการรับข้อมูลข่าวสารจนกว่าเด็กจะมีทักษะในการกลั่นกรองข้อมูลได้เอง การสรุปว่าเลี้ยงให้ไม่ร้องไห้ หรือเลี้ยงไปวันๆ นั้นคงจะไม่ใช่แนวทางออกที่ดีทางจิตวิทยาพัฒนาการ พ่อแม่จึงต้องใส่ใจและเริ่มปลูกฝังทักษะต่างๆให้เหมาะสมกับช่วงวัย โดยเน้นนะคะว่า เหมาะสม เพราะทักษะบางอย่าง ลูกไม่สามารถทำได้เลยหากอายุยังน้อย อาทิ การทำความเข้าใจว่า การสูญเสียมี กี่ลักษณะ ฉะนั้นการที่เด็กหนึ่งคนจะเข้าใจว่า การสูญเสียคนรัก ไม่สามารถกลับมาได้ ยังไม่ใช่วัยที่เขาจะทำความเข้าใจ แต่จะปลูกฝังได้ หากมีการให้ข้อมูลอย่างตรงไปตรงมาและต่อเนื่อง ในแต่ละเรื่องแต่ละช่วงวัยค่ะ


ครูเก๋ แอบโซลูท

โรงเรียนกวดวิชาแอบโซลูท ธิงคิง


ปลูกปั้นทางปัญญา ล้ำหน้าทางความคิด พัฒนาชีวิตด้วยสถาบันครอบครัว


ปรึกษาเราเลยวันนี้

098-6656-541 เรียนรู้ทุกวิชาด้วยจุดแข็ง


www.absolutethinking.org






ดู 74 ครั้ง0 ความคิดเห็น
bottom of page