คุณคุยกับลูก หรือกับใคร
โดย ครูเก๋ อ.ดร.นฤมล พงษ์ประเสริฐ นักจิตวิทยาการให้คำปรึกษาและแนะแนว
โดนทิ้ง แค่ได้ยินก็แสนเจ็บปวด ครูเก๋ไม่อยากให้มองการทิ้งนั้นให้ไกลตัวจนเกินไป คล้ายๆกับการกำพร้า เพราะเป็นเรื่องที่ฟังแล้วไม่น่าจะเป็นไปได้มากเท่าไหร่สำหรับคนที่อาศัยอยู่ฝาบ้านชายคาเดียวกัน
หลายครั้งที่ ทานข้าวด้วยกันแล้วลูกรู้สึกโดดเดี่ยว หลายครั้งที่ เห็นหน้ากันทุกเช้า แต่ลูกรู้สึกห่างไกล คำถามเกิดขึ้นว่า ความรู้สึกโดดเดี่ยวนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร ในเมื่ออยู่ด้วยกันขนาดนี้
ทิ้งทางใจ จากคำว่าไม่มีเวลาต้องทำมาหากิน เป็นปัจจัยหนึ่งที่ลูกนั้นรู้สึกอยู่ลึกๆด้านใน โดยไม่ได้รับกำลังใจ ไม่ได้รับการเอาใจใส่ หรือกระทั่งการไม่รับรู้ถึงอารมณ์ร่วมกัน สิ่งเหล่านั้นถูกสะท้อนผ่านภาษาที่ได้รับเมื่อพยายามที่จะบอกอะไรสักอย่างแก่คนในครอบครัว อาทิ
แม่หนูทำข้อสอบไม่ได้ แต่แม่กลับตอบว่า ทำไมทำไม่ได้ แค่นี้เอง มากกว่าที่จะตอบว่า ลูกไม่เข้าใจตรงไหน มีอะไรให้แม่ช่วยได้ไหม หรืออยากเรียนเพิ่มหรือเปล่า
สิ่งที่ตอบกลับลูกเมื่อลูกมีคำถามนั้นได้ส่งไปยังลูกหรือไม่ หรือส่งผลไปยังการกระทำของลูก หลายครั้งเด็กรู้สึกถูกทิ้งเพราะสิ่งที่ถามนั้นไม่ได้ส่งตรงไปยังตัวของเขา แต่เป็นผลจากการกระทำของเขา อาทิ คะแนน พฤติกรรม สังคมรอบข้าง หากจะใส่ใจเพิ่มสักนิด เพื่อไม่ให้ลูกรู้สึกถูกทิ้ง พ่อแม่อาจจะต้องหันมาใช้คำถามที่ส่งสารของความห่วงใยไปยังตัวเขา ว่ารู้สึกอย่างไร เป็นอย่างไรจะดีกว่าค่ะ
ครูเก๋ แอบโซลูท
โรงเรียนกวดวิชาแอบโซลูท ธิงคิง
ปลูกปั้นทางปัญญา ล้ำหน้าทางความคิด พัฒนาชีวิตด้วยสถาบันครอบครัว
ปรึกษาเรียนพิเศษ และฝึกศักยภาพเราทำได้
098-6656-541 เรียนรู้ทุกวิชาด้วยจุดแข็ง
www.absolutethinking.org