top of page

ตลาดลูกหรือตลาดคุณ เรื่องจริงที่พ่อแม่ยุคเบบี้บูมต้องทำใจรับฟัง

โดยครูเก๋ อ.ดร.นฤมล พงษ์ประเสริฐ นักจิตวิทยาการให้คำปรึกษาและแนะแนว


การเข้าสู่ตลาดแรงงานที่เปลี่ยนไปของเด็กที่กำลังเติบโตมาเป็นเยาวชนในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า นำมาสู่ซึ่งความหนักใจของผู้ปกครองหลายท่านที่คิดว่าลูกนั้นจะมีงานไหม หรือมีค่าตอบแทนที่เหมาะสมคุ้มค่าหรือเปล่า หลายครั้งการจะได้คำตอบดังกล่าวผู้ปกครองต้องถามว่า ลูกของท่านนั้นมีทักษะที่เหมาะสมต่อระบบของตลาดแรงงานรุ่นใหม่หรือไม่

กราฟดังกล่าวได้ถูกอ้างถึงในรายงานการสรุปของสถาบันรูสเวล ประเทศสหรัฐอเมริกาต่อตลาดแรงงานในศตวรรษที่ 21 เห็นได้ชัดว่า ในผลิตภาพที่เพิ่มขึ้นนั้นค่าตอบแทนไม่ได้เพิ่มขึ้นตามอย่างที่พ่อแม่ หรือคนในยุค เบบี้บูมได้รับผ่านประสบการณ์อันหน้าทึ่งที่อยู่นานแล้วได้รับเงินเดือนมากขึ้นตามความสามารถ


ในยุคที่ใครๆสามารถเสาะแสวงหาความรู้ได้จากแหล่งข้อมูลที่ไร้พรหมแดนนั้น พ่อแม่ต้องปรับเปลี่ยนทัศนคติต่ออนาคตของลูกรวมถึงอนาคตของตลาดแรงงานของเขา เนื่องจากเทรนที่เห็นได้ชัดจากหลายๆสถาบันส่งผลว่าเด็กรุ่นใหม่นั้นมีทักษะและความสนใจต่อการเป็นผู้ประกอบการ เนื่องจากเหตุผลบางประการซึ่งหนึ่งในนั้นคือค่าแรงที่ได้รับจากการทำงานในบริษัทยักษ์ใหญ่ หรือองค์กรของรัฐไม่ได้ตอบสนองความต้องการและความสามารถของเขาอีกต่อไป จึงส่งผลให้อาชีพ และความสนใจของเขาในเวลาปัจจุบันนั้นเปลี่ยนแปลงไปเสียด้วย


จากรายงานของสถาบันรูสเวลยังบอกอีกว่า รูปแบบของเทคโนโลยีที่กำลังแทรกซึมทำให้งานชนิดต่างๆที่ถูกมองข้ามอาทิ การเลี้ยงดูบุตร หรืองานที่เคยถูกทิ้งไว้ข้างหลังนั้นถูกนำขึ้นมาจัดระเบียบด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ผ่าน แพลทฟอร์มที่เราเรียกกันว่า แอปพลิเคชั่น เนื่องจากสภาวะที่เปลี่ยนไปของสังคมเห็นได้เช่นนี้ตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ตลาดแรงงาน และการเสื่อมถอยของกลุ่มสหภาพแรงงาน ทำให้การเติบโตในยุคเปลี่ยนผ่านมีให้เลือกไม่มากนัก ซึ่งหนึ่งในนั้นคือการยอมรับ และเปลี่ยนแปลงโดนการเพิ่มทักษะที่สอดคล้องกับยุคสมัยมากกว่าการที่จะเพิ่มความรู้ที่จะส่งลูกเข้ามหาวิทยาลัยเพียงอย่างเดียวแต่ไม่เพียงพอที่จะอยู่กับเขาหลังจากออกจากรั้วมหาวิทยาลัยในวันข้างหน้า


รู้แบบนี้การที่จะกักขังลูกไว้กับความฝันของตัวเอง อาจจะเป็นสิ่งที่ไม่น่าภิรมย์เท่าไหร่หากเทียบกับการมอบทักษะทางการเรียนรู้ทักษะภาษา ทักษะคอมพิวเตอร์ และทักษะการติดต่อสื่อสารให้กับลูก แต่แน่นอนว่าการที่จะส่งต่อทักษะที่ดีเหล่านั้นได้ ต้องเริ่มที่ทักษะแรกที่พ่อแม่ต้องมี คือทักษะของการมองโลกผ่านพหุมุมมอง หรือหลากหลายเลนส์จากหลากหลายผู้คนในหลากหลายประสบการณ์


ครูเก๋ แอบโซลูท

โรงเรียนกวดวิชาแอบโซลูท ธิงคิง


ปลูกปั้นทางปัญญา ล้ำหน้าทางความคิด พัฒนาชีวิตด้วยสถาบันครอบครัว


ปรึกษาเรียนพิเศษและพัฒนาศักยภาพกับเราเลยวันนี้

098-6656-541 เรียนรู้ทุกวิชาด้วยจุดแข็ง


www.absolutethinking.org


อ่านฉบับเต็มได้ที่ : http://rooseveltinstitute.org/wp-content/uploads/2018/10/LeftBehind_FINAL.pdf



ดู 226 ครั้ง0 ความคิดเห็น
bottom of page