สิ่งเร้าของการพูดหลอกลวง พ่อแม่ต้องรู้
โดยครูเก๋ อ.ดร.นฤมล พงษ์ประเสริฐ นักจิตวิทยาการให้คำปรึกษาและแนะแนว
คำว่าหลอกลวง เมื่อได้ยินแล้ว หลายครั้งเกิดความรู้สึกที่ไม่ค่อยดีสักเท่าไหร่ในสายตาของพ่อแม่ เกิดคำถามว่า ทำไมกันนะ ทำไมถึงหลอกเรา ทำไมถึงหลอกพ่อหรือทำไม ถึงหลอกแม่ได้ลงคอ
หลายครั้งการพูดหลอกลวงได้ถูกเรียนรู้ว่าการพูดตรงไปตรงมานั้นไม่มีประโยชน์เกิดขึ้น จึงนำมาสู่คำว่าพูดให้สบายใจ หลายครอบครัวประสบปัญหาแบบนี้ ว่ากว่าจะรู้ความจริงก็สายไปเสียแล้ว
ด้วยกระบวนการการแก้ไขปัญหาที่ชาญฉลาดของมนุษย์ เพื่อเอาตัวรอดและรักษาความรู้สึกของตนเอง จึงพัฒนาการพูดเพื่อให้สั้น กระชับ และได้ผลลัพธ์ตามต้องการ ซึ่งก็แน่นอนที่จะพอเดาได้ว่าคือการหลักเลี่ยงที่จะโดนพร่ำบ่น กร่นด่า เพราะหากพูดตรงไปตรงมาอาจไม่ถูกใจใครหลายๆคน และจะดีเสียกว่าถ้าพูดสิ่งที่เขา ในที่นี้คือพ่อแม่ อยากฟัง
รู้แบบนี้แล้วการแก้ไขนั้นง่ายมากกว่าที่เราคิด เพียงแค่เปลี่ยนสิ่งเร้า เราก็สำเร็จ โดนเริ่มที่พ่อแม่ที่เป็นผู้ฟังที่ดี รับฟังโดยไม่คัดค้าน ฟังเอาเรื่อง เพื่อให้เกิดความไว้เนื้อเชื่อใจ ร่วมหาแนวทางการแก้ไขปัญหา เป็นที่ปรึกษาช่วยลูกแสวงหาความสำเร็จ เพราะการตีกรอบว่าสิ่งนี้คือสิ่งที่ลูกชอบ และน่าจะทำได้ดีในสายตาของเรานั้น เป็นการหลีกเลี่ยงที่จะเป็นผู้ฟังที่ดีโดยไม่รู้ตัว ฉะนั้นการฟังไม่คัดค้าน ไม่ได้หมายความว่าปล่อยความยาวสาวความยืด แต่เป็นเพียงการเก็บข้อมูล ความสนใจ และพื้นหลังเพื่อประกอบการสอนและอยู่ร่วมกันภายหลัง
ครูเก๋ แอบโซลูท
โรงเรียนกวดวิชาแอบโซลูท ธิงคิง
ปลูกปั้นทางปัญญา ล้ำหน้าทางความคิด พัฒนาชีวิตด้วยสถาบันครอบครัว
ปรึกษาเรียนพิเศษและพัฒนาศักยภาพกับเราวันนี้
098-6656-541 เรียนรู้ทุกวิชาด้วยจุดแข็ง
