top of page

Self-Harm มรดกทางวัฒนธรรมที่พ่อแม่ต้องเปลี่ยน

โดยครูเก๋ อ.ดร.นฤมล พงษ์ประเสริฐ นักจิตวิทยาการให้คำปรึกษาและแนะแนว


พ่อแม่ผู้ปกครองหลายท่านจำนวนไม่น้อยคงเคยได้ยินคำว่าทำร้ายตัวเองกันมาบ้างแล้ว การทำร้ายตัวเอง เป็นหนึ่งในวิธีที่เด็กสามารถใช้ในการลงโทษตัวเอง ในความหมายของเด็ก คำว่าการลงโทษอาจจะมองได้ในทาง เฆี่ยนตี จับขัง ปรับเอาเงิน หรือต่างๆนานาตามที่ตนเองเข้าใจ ซึ่งแน่นอนว่าไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้องเสมอไป


จำนวนไม่น้อยครั้งที่เด็ก หรือวัยรุ่นที่ความคิดความอ่านอยู่ในวัยคึกคะนองที่หลายครั้งการตัดสินใจนั้นไม่ได้ผ่านการคิดตริตรองมาอย่างดีพอ ไม่ได้เชื่อมโยงเหตุและผล จึงใช้วิธีการที่ตนเองได้เห็นหรือได้ยินมา หรือคำที่เราได้ยินติดหูอย่างคลาสสิคว่า คนส่วนใหญ่ทำแบบนี้


การที่คน 7,000 ล้านคนทำ หรือคนส่วนใหญ่ทำ ไม่ได้แปลว่าสิ่งเหล่านั้นถูกเสมอไป ผู้คนเหล่านั้นอาจจะเป็นกลุ่มที่หลงคิดผิด ทำผิดอยู่ตลอดเวลา แต่ด้วยการที่มนุษย์นั้นเปรียบเทียบตนเองกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการปรับตัวอยู่เสมอ หลีกเลี่ยงได้ยากที่จะยั้งคิดที่จะไม่ทำร้ายตัวเอง


ตัวอย่างของการทำร้ายตัวเองสามารถพบเห็นได้ตามภาพยนตร์ ละคร หนังสือ พูดได้ว่าทุกที่ เริ่มตั้งแต่การทำร้ายตัวเองแบบง่ายๆ การตบตีตนเอง ไปจนกระทั่งการดื่มสารพิษเพื่อหวังจบชีวิตของตนเอง ซึ่งแน่นอนว่าไม่ใช่วิธีที่ฉลาดสักเท่าไหร่ในโลกสังคมที่มนุษย์มีสิทธิ์ที่จะคิดที่จะฝันอย่างเท่าเทียม แตกต่างจากการแสดงความรับผิดชอบในหนังกำลังภายในที่สะท้อนค่านิยมเมื่อพันปีก่อน ฉะนั้นหากพ่อแม่ต้องการที่จะปลูกฝังสิ่งที่ดี คำว่าทางแก้ นั้นเป็นคำสำคัญ การลงโทษด้วยความสมเหตุสมผลผ่านการเข้าใจปัญหาและรับผิดชอบร่วมกันเท่านั้น ที่จะเป็นกุญแจหาทางออกของปัญญาหานี้ หาใช่ให้ลูกโทษตัวเองและแบกรับความรับผิดชอบไว้คนเดียวดั่งเข้ายุทธจักรเสมอไป


ครูเก๋ แอบโซลูท

โรงเรียนกวดวิชาแอบโซลูท ธิงคิง


ปลูกปั้นทางปัญญา ล้ำหน้าทางความคิด พัฒนาชีวิตด้วยสถาบันครอบครัว


ปรึกษาเรียนพิเศษและพัฒนาศักยภาพกับเราเลยวันนี้

098-6656-541 เรียนรู้ทุกวิชาด้วยจุดแข็ง


www.absolutethinking.org




ดู 212 ครั้ง0 ความคิดเห็น
bottom of page