top of page

การเมืองและสถาบันครอบครัว

โดยครูเก๋ อ.ดร.นฤมล พงษ์ประเสริฐ นักจิตวิทยาการให้คำปรึกษาและแนะแนว


"ทำงานโดยไร้การตรวจสอบ รอบคอบโดยไร้อุปสรรค จะขาดความคิดสร้างสรรค์โดยสมบูรณ์"


ในเรื่องของการพูดคุยนั้น การเมือง ถือเป็นเรื่องหนึ่งในหลากหลายสังคมที่หลีกเลี่ยงที่จะพูด สาเหตุไม่ได้มาจากการไม่มีมุมมองหรือความคิดเห็น แต่เป็นพูดไปแล้วกลัวความสัมพันธ์จะหายไปต่างหาก


การเมืองคือเรื่องใกล้ตัว และในระบอบประชาธิปไตย ยิ่งเสนอความคิดเห็นมากยิ่งมีมุมมองในการแก้ไขปัญหาเพิ่มออกไป บางวิธีอาจจะให้ประโยชน์แก่คนกลุ่มหนึ่งในบางส่วน แต่อีกวิธีให้ประโยชน์คนอีกหนึ่งกลุ่ม แต่ถ้าเราไม่มีวิธีที่จะแสดงความคิดเห็นโดยเปิดเผย บางครั้งความคิดเรา อาจจะไม่ได้อยู่ในวงสนทนาที่พยายามแก้ไขปัญหาของสังคมนั้นๆก็เป็นได้


สำหรับในครอบครัว หลายครอบครัวมีมุมมองแตกต่าง หลายครอบครัวมีมุมมองไปทางเดียวกัน ครูเก๋เลยมาชวนแนะนำลูกวิจารณ์การเมืองในยุค ศตวรรษที่ 21 กันค่ะ


1. วิจารณ์หรือการเสนอความคิดเห็น ไม่ว่าจะเห็นด้วยหรือเห็นต่าง ต้องให้ผู้พูดพูดให้จบแล้วจึงเสนอความคิดเห็น หลายครั้งที่เยาวชนรับข่าวสารโดยไม่ได้กลั่นกรองหรือกลั่นกรองน้อยจากสื่ออินเตอร์เน็ต และมากครั้งที่ผู้ปกครองรับรู้เพียงสื่อกระแสหลัก การฟังให้จบจะทำให้เห็นภาพกว้างระหว่างสื่ออิสระกับสื่อกระแสหลักว่า มุมมองไหนถูกบดบังหรือเพิ่มเข้ามา เพื่อเข้าใจภาพกว้างของกิจกรรมได้ง่ายและตรงประเด็น


2. เพิ่มการชี้แนะและลดการชี้นำ อาทิ แม่อ่านข่าวหรือดูข่าวจากสำนักนี้ ลูกคิดว่าอย่างไร เมื่อลูกเสนอความคิดเห็นแล้ว แนะนำให้เขาอ่านข้อมูลจากสื่อรอบด้าน เนื่องจากทั่วโลกจะมีสื่อที่เป็นกำลังสนับสนุนนักการเมืองทั้งสองฝ่าย ซึ่งกระเขียนข่าวจะมี Bias หรือการลำเอียงเข้าข้างเป็นธรรมดา ไม่สามารถเอาแหล่งข่าวที่สนับสนุนผู้นำฝ่ายหนึ่งไปโจมตีอีกฝ่ายหนึ่งได้


3. ไม่ว่าความคิดเห็นเราจะตรงหรือไม่ตรงกับความคิดของลูก ไม่เป็นปัญหา เพราะมุมมองหรืออิสรภาพของการแสดงความคิดเห็น เป็นของทุกคน ครูเก๋ขอยกตัวอย่างเรื่องราวของภาพเขียนไว้เป็นกรณีศึกษานะคะ


ภาพศิลปะรูปหนึ่งติดไว้บนผนัง เด็กผู้ชายเดินผ่านมาแล้วหัวเราะคิกคักชอบใจ ในขณะที่เด็กผู้หญิงนั่งร้องไห้ มีชายชราอายุร่วม 90 เศษเดินมาเห็นพร้อมพูดว่า "พวกหนูเสียใจหรือถึงได้ร้องไห้" เด็กผู้หญิงได้ยินเสียงชายชราจึงตอบกลับไปว่า รูปนี้เป็นรูปที่คุณพ่อชอบมาก ซึ่งคุณพ่อพึ่งเสียชีวิตไป เด็กสองคนมองภาพเดียวกันทั้งๆที่ควรจะหัวเราะชอบใจ แต่กลับมีปฏิกิริยาที่แตกต่าง เพราะผู้หญิงสูญเสียพ่อที่ชื่นชอบรูปนี้มาก จึงทำให้นึกถึงพ่อมากกว่าใจความสำคัญของภาพที่จิตรกรได้เขียนเอาไว้


หนึ่งภาพสองอารมณ์ กับเรื่องราวร้อยแปดในบ้านเมืองที่มีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมมหาศาล คงต้องเป็นกรณีศึกษาที่สังคมและพ่อแม่ที่มีลูกในยุคเปลี่ยนผ่านน่าจะลองทำความเข้าใจนะคะ


ครูเก๋ แอบโซลูท


โรงเรียนกวดวิชาแอบโซลูท ธิงคิง


ปลูกปั้นทางปัญญา ล้ำหน้าทางความคิด พัฒนาชีวิตด้วยสถาบันครอบครัว


วางแผนการเรียนทุกระดับด้วยสังคมที่เหมาะสมทางการเรียนรู้ ท่ามกลางทรัพยากรบุคคลมากคุณภาพ

0986656541 ปรึกษาพร้อมเข้าชมโรงเรียนของเราวันนี้




ดู 28 ครั้ง0 ความคิดเห็น
bottom of page