top of page

3ม ที่พ่อแม่ต้องเรียนรู้

โดยครูเก๋ อ.ดร.นฤมล พงษ์ประเสริฐ นักจิตวิทยาการให้คำปรึกษาและแนะแนว


ทำไมต้องห้ามมโน คำว่า มโน จากประสบการณ์ที่ได้จากการให้คำปรึกษาของครูเก๋พบว่า พ่อแม่จะเลี้ยงลูกเพื่อชดเชยอะไรบางอย่างในตัวเอง พ่อแม่ผู้ปกครองส่วนใหญ่จะไม่รู้ตัวหรือรู้สึกว่าตัวเองกำลังทำแบบนั้นอยู่ อาทิ ตอนเด็กคุณพ่อคุณแม่ไม่เคยได้อะไร ก็อยากให้ลูกของเราได้ตอนนี้ การหวังดีที่จะเห็นลูกเติบโตเป็นคนที่มีคุณภาพเป็นสิ่งที่น่าชื่นชมอย่างยิ่ง แต่บางอย่างทำให้ลูกเกิดภาวะเครียดตามมาแล้วเป็นปัญหาเมื่อลูกอยากจะทำทุกอย่างเพื่อให้พ่อแม่สบายใจจนไม่กล้าบอกความในใจออกมา


ในเรื่องของการเลี้ยงดูลูกตามบริบทสังคมนี้ครูเก๋แบ่งเป็นสองตอน ตอนที่ 1 นี้ครูเก๋ มาชวนมอง 3ม. เพื่อปูไปสู่แนวทางการปรับเปลี่ยนที่ดีค่ะ


ม.แรกคือ ม.ไม่ เมื่อไหร่ที่มีเรื่องที่ไม่รู้ไม่ทราบ พ่อแม่จะต้องบอกกับตัวเองว่าเราไม่รู้ เพื่อที่จะนำไปสู่คำที่จะพาทั้งครอบครัวเจอทางออกของปัญหา คือจะรู้จะทราบได้อย่างไร เราจะเจอ จะพบ หรือปรึกษาเรื่องนี้กับใครเพื่อได้ทางออกที่ดีที่สุด


ม.ต่อมาคือ ม.มี คือรู้สึกอิ่มเต็มอยู่เสมอ ภูมิใจ และสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีที่สุดให้ลูกในแบบที่ลูกเป็นลูก ลูกของเราเปล่งประกายในแบบของเรา รักและภูมิใจในแบบของเรา การเปรียบเทียบลูกคนอื่นกับลูกของเรา หรือการยกลูกของเราเปรียบลูกของคนอื่นนั้น จะเป็นการมัดมือลูกเป็นศูนย์กลางความสำเร็จของพ่อแม่ มากกว่าการเห็นลูกสำเร็จ


ม.สุดท้ายคือ ม.มอบ ทุกขณะที่เรายอมรับตนเองจาก ม.แรกแล้วมองหาผู้รู้ มองหาครู มองหาสังคม จนกระทั่งม.มี ที่เริ่มภูมิใจและเปล่งประกายในแบบของเราแล้ว ม.มอบ ม.ที่3 จะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่สร้างเยาวชนที่ดีคือ มอบสิ่งที่ดีที่ตนเองเคยได้รับเมื่อเยาว์วัยกับลูก เพื่อปรับพื้นฐานให้ครบและพร้อมต่อการเติบโต


3ม. เมื่อรวมกับแล้วคือ ไม่ มี มอบ คำว่าไม่มีมอบในที่นี้ฟังแล้วอาจจะดูรุนแรง แต่ที่ครูเก๋อยากจะสื่อก็คือ เราจะไม่มีอะไรมอบให้คนอื่น ถ้าตัวเรานั้นยังมีไม่ครบหรือยังดูแลไม่ได้ ถ้าเมื่อไหร่คุณพ่อคุณแม่เปิดใจลอง 3ม จนเป็นอัตโนมัติแล้ว เราจะทิ้ง 3ม เพื่อรับสิ่งที่ดีต่อไปค่ะ แต่เบื้องต้น ถ้าไม่มี 3ม แน่นอนค่ะว่า เราไม่มีอะไรที่จะมอบคนอื่นแน่ๆ


ครูเก๋ แอบโซลูท

โรงเรียนกวดวิชาแอบโซลูท ธิงคิง


วางแผนการเรียนทุกระดับท่ามกลางทรัพยากรที่พร้อมยกระดับการเรียนรู้

0986656541 รายล้อมลูกด้วยสังคมที่ดีกว่าวันนี้


ปลูกปั้นทางปัญญา ล้ำหน้าทางความคิด พัฒนาชีวิตด้วยสถาบันครอบครัว



ดู 27 ครั้ง0 ความคิดเห็น
bottom of page