top of page

สื่อสารสร้างความสนใจ กระตุ้น ERP ในสมองลูก

อัปเดตเมื่อ 30 เม.ย. 2562

โดยครูเก๋ อ.ดร.นฤมล พงษ์ประเสริฐ นักจิตวิทยาการให้คำปรึกษาและแนะแนว


การดึงดูดความสนใจ หรือการเปลี่ยนความสนใจในภาษาจิตวิทยา ถูกพัฒนาเป็นวิธีการสื่อสารที่ส่งผลกระทบต่อผู้ฟังมานานและมากขึ้นเรื่อยๆ การเป็นพ่อแม่ผู้ปกครองนั้นต้องเรียนรู้วิธีการสื่อสารเพื่อกระตุ้นจุดโฟกัสให้ลูกเรียนรู้ในการจับใจความสำคัญ


งานวิจัยเรื่องการสื่อสารถูกตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์โดยนักจิตวิทยาประเทศฮังการี ในชื่อ Did you call me? ที่ผู้วิจัยได้ทดสอบกับเด็กอายุเพียง 5 เดือนว่าคลื่น ERP หรือการตอบสนองของเด็กต่อชื่อตนเอง และชื่อคนอื่นเมื่อได้ยินแตกต่างกันอย่างไร ผลวิจัยชี้ให้เห็นว่าค่า ERP สูงขึ้นเมื่อเด็กได้ยินเสียงชื่อตัวเองเสมอ ครูเก๋จึงชวนคุณพ่อคุณแม่ พูดถึงทักษะการเลี้ยงลูกเพื่อที่จะฝึกให้ลูกโฟกัสในใจความสำคัญด้วย 3 ลำดับวิธีง่ายๆดังนี้


1. เมื่อจะเริ่มต้นคุยกับลูก เริ่มต้นด้วยชื่อลูกก่อนเสมอ อาทิ ขิมวันนี้เรียนเป็นอย่างไรบ้างลูก มากกว่าที่จะเป็นวันนี้หนูเรียนเป็นอย่างไร เพราะการเรียกชื่อขิมคือการพูดตรงไปยังตัวตนของเขามากกว่าตัวเนื้อหา


2. พูดด้วยประโยคสั้นๆ ถ้าคุณแม่คุณพ่ออยากจะถามหรือพูดคุยแบบยาว ครูเก๋เปลี่ยนเป็นคำถามย่อยๆแล้วเรียกชื่อเค้าใหม่ เพื่อสมองเลื่อนความสนใจกลับมาที่ตนเองอีกครั้ง อาทิ ขิมวันนี้แม่ได้ยินคุณครูบอกมาว่า หนูทำคะแนนได้ดีเลยนะลูก คุณครูชื่นชมหนูใหญ่เลยบอกแม่ว่าทำได้ดีกว่าครั้งก่อนๆเยอะขึ้นเรื่อยๆ เป็น ขิม วันนี้แม่ได้ยินคุณครูบอกว่าขิมทำคะแนนได้ดี ครูชมว่าขิมเก่ง และขิมทำคะแนนได้ดีกว่าทุกๆครั้ง แบบนี้ค่ะ


3. มองหน้าและสบตาทุกครั้งที่พูดและสื่อสารกับลูก เพื่อให้การสื่อสารในแต่ละครั้งนั้นจบไปเป็นชุดๆ


พื้นฐานของการเรียนรู้คือวิธีการส่งผ่านข้อมูลตรงไปยังส่วนอารมณ์ในสมองหรือ Amygdala และลดการสื่อสารผ่านเหตุผลตั้งต้นเพราะจะถูกสมองส่วนหน้าสกัดไม่ให้ถูกเก็บเป็นความทรงจำระยะยาว หรือที่เรียกว่าสอนไม่จำค่ะ


ครูเก๋ แอบโซลูท

โรงเรียนกวดวิชาแอบโซลูทธิงคิง


ปลูกปั้นทางปัญญา ล้ำหน้าทางความคิด พัฒนาชีวิตด้วยสถาบันครอบครัว


เรียนรู้ทุกวิชาด้วยจุดแข็ง

098-6656-541 วางแผนการเรียนที่ดีและเหมาะสมวันนี้




ดู 38 ครั้ง0 ความคิดเห็น