ตั้งดีมีชัยไปกว่าครึ่ง
โดยครูเก๋ อ.ดร.นฤมล พงษ์ประเสริฐ นักจิตวิทยาการให้คำปรึกษาและแนะแนว
การสู้โดยไม่ประเมินทรัพยากรที่มีอยู่ หรือพยายามเพิ่มกำลังผลิตมากกว่าทรัพยากร เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ทางเศรษฐศาสตร์ ทุกการตัดสินใจมีค่าเสียโอกาสเสมอ
วันนี้เรายังอยู่กันที่เป้าหมาย ... การที่ลูกทำไม่ได้ ไม่ได้แปลว่าทำไม่สำเร็จเสมอไป หากพิจารณาลึกลงไปถึงแก่นของเป้าหมายที่เราพยายามเข้าถึง เราจะพบคำถามที่โผล่ขึ้นมาว่า ในเมื่อไม่ได้ ไม่ได้เพราะอะไร
บางครั้งอาจเป็นเพราะ
ล้มเหลวมาแล้วหลายครั้ง พังเสียก่อนแข่ง ระแวงแต่อุปสรรค หรือมักจะไม่เชื่อใจตนเอง?
ไม่มีข้อได้เลยที่ดูแล้วจะบ่งบอกว่าไม่ใช่ปัจจัยแห่งการล้มเหลว แต่เราอาจะมองที่ปลายทางจนลืมมองว่า การตั้งเป้าหมาย หรือการค้นหาก่อนการตั้งเป้าหมายนั้นถูกต้องแล้วหรือไม่ ได้เริ่มสร้างทรัพยากรแห่งความสำเร็จไว้แล้วหรือยัง
อ้างอิงจากบทเรียนของ อ.ดร.ณรงศักดิ์ จันทร์นวล อดีตอาจารย์สาขาจิตวิทยามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อาจารย์ของครูเก๋เอง ได้บอกถึงวิธีการค้นหาและเริ่มตั้งเป้าหมายเพื่อคุ้นชินกับความสำเร็จว่า
1. ลงมือทำให้สิ่งที่อยากทำเสียก่อน #อยากทำและไม่ได้โดนบีบบังคับให้ทำ
2. พิจารณาแล้วว่าสามารถสำเร็จได้ เมื่อลงมือทำเสียวันนี้ เปรียบเทียบกับสิ่งอื่นที่อยากทำ สิ่งใดสามารถทำให้สำเร็จได้ก่อน ให้เริ่มทำสิ่งนั้น
3. ทำแล้วต้องเกิดประโยชน์อย่างน้อยที่สุดแก่ผู้กระทำ หรืออย่างมากต่อผู้คนในสังคม
4. กำหนดระยะเวลาความสำเร็จและจุดแตกหัก เมื่อไหร่ถึงจะพอ หรือแค่ไหนถึงจะหยุดเพื่อออกมาตั้งตัวใหม่
สี่ขั้นตอนนี้จะนำพ่อแม่ผู้ปกครองไปสู่การค้นหาวิธีการเลี้ยงลูก หรือแนะนำลูกเพื่อให้รู้จักการจัดการตัวเอง สิ่งที่สำคัญคือการจัดการเวลาในลำดับที่ 4 หากนักกีฬา ไม่รู้สมรรถนะตัวเองว่าเหนื่อยแล้วต้องหยุดพัก เปลี่ยนตัวผู้เล่น นานเข้าก็บาดเจ็บและไม่อาจกลับเข้าไปแข่งขันได้อีก มนุษย์ในสังคมก็เช่นกัน สนามครอบครัว และสังคมอาศัยการชาร์จพลังและปล่อยพลังอยู่เสมอ การเรียนรู้ที่จะตั้งเป้าหมายและวิธีการใช้พลังไปสู่จุดสำเร็จจึงสำคัญและควรตั้งไว้ในทุกโอกาส
ครูเก๋ แอบโซลูท
โรงเรียนกวดวิชาแอบโซลูท ธิงคิง
ปลูกปั้นทางปัญญา ล้ำหน้าทางความคิด พัฒนาชีวิตด้วยสถาบันครอบครัว
เรียนรู้ทุกวิชาด้วยจุดแข็ง
098-6656-541 ปรึกษาเราเลยวันนี้
Line @absolutethinking
